สภาพทั่วไป

ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล 

      องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยขะยุง  เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดกลาง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๒ บ้านห้วยขะยุงตก ตำบลห้วยขะยุง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ห่างจากที่ว่าการอำเภอ            วารินชำราบ  ประมาณ  ๒๑ กิโลเมตร  อยู่ห่างจากตัวจังหวัดอุบลราชธานี ประมาณ ๒๕ กิโลเมตร  ห่างจากกรุงเทพมหานคร ๕๗๑ กิโลเมตร มีเนื้อที่โดยประมาณ  ๔๒.๒๐ ตารางกิโลเมตร หรือ ๒๖,๓๗๕  ไร่ 

          ทิศเหนือ         จดเขตแม่น้ำมูล ฝั่งตรงข้ามเป็นตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

          ทิศใต้            จดเขตตำบลโนนกาเล็น  อำเภอสำโรง  จังหวัดอุบลราชธานี

          ทิศตะวันออก   จดเขตตำบลท่าลาด  อำเภอวารินชำราบ  จังหวัดอุบลราชธานี

          ทิศตะวันตก     จดเขตตำบลโนนสัง  อำเภอกันทรารมย์  จังหวัดศรีสะเกษ

ลักษณะภูมิประเทศ 

     ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยขะยุง เป็นที่ราบและติดแม่น้ำมูลและ ลำห้วยขะยุง มีแหล่งน้ำผิวดินหลายแห่ง แต่เป็นแหล่งน้ำตื้นเขิน มีสภาพป่าไม่สมบูรณ์ ถนนเชื่อมระหว่างตำบลยังชำรุดเป็นส่วนใหญ่ สภาพของดินในพื้นที่เหมาะแก่การทำการเกษตร หากแต่ขาดแหล่งน้ำที่สามารถปลูกพืชและทำการเกษตรได้ตลอดทั้งปี

   ลักษณะของแหล่งน้ำ ในพื้นที่ตำบลห้วยขะยุง มีแหล่งน้ำที่เป็น แม่น้ำมูล ลำห้วย หนอง คลองและบึงและแหล่งน้ำอุปโภคที่สร้างขึ้น คือประปาหมู่บ้าน แยกได้ดังนี้     

๑)     แหล่งน้ำธรรมชาติ

-แม่น้ำมูล                        จำนวน  ๑  สาย

-ลำน้ำ,ลำห้วยขะยุง            จำนวน  ๒  สาย 

-บึง หนองและอื่นๆ            จำนวน  ๑๖  แหล่ง

          ๒)  แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

               -บ่อน้ำตื้น                        จำนวน   ๑๗๐  แห่ง

               -บ่อน้ำลึก                        จำนวน   ๓๕๓  แห่ง

               -บ่อโยก                          จำนวน       ๓  แห่ง

               -ประปาหมู่บ้าน                 จำนวน       ๓  แห่ง  (หมู่ ๓,๗,๘,๙)

               -ถังน้ำฝน                        จำนวน     ๑๓  แห่ง

ลักษณะภูมิอากาศ 

          ลักษณะภูมิอากาศ ของตำบลห้วยขะยุง ขึ้นอยู่กับอิทธิพลมรสุมที่พัดประจำฤดูกาล ซึ่ง ๒ ชนิดคือ

มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งพัดพามวลอากาศเย็นและแห้งจากประเทศจีนเข้าปกคลุมประเทศไทย ตำบลห้วยขะยุงมีอากาศหนาวเย็นและแห้งทั่วไป และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดพามวลอากาศขึ้นจากทะเลและมหาสมุทรเข้าปกคลุมประเทศไทยในช่วงฤดูฝน (ประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงประมาณกลางเดือนตุลาคม)ทำให้มีฝนตกชุกทั่วไป

ลักษณะของดิน 

          สภาพดินส่วนมากของพื้นที่ เป็นดินร่วนปนทราย เหมาะแก่การเพาะปลูก ซึ่งเกษตรกรได้ทำการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจที่มีความหลากหลาย อาทิเช่น ข้าว แตงโม มันสำปะหลัง มันเทศ แคนตาลูป แตงไทย และผักชนิดต่างๆ ซึ่งที่ขึ้นชื่อและเป็นที่รู้จักอย่างมาก คือ ข่าแดง  ถือเป็นแหล่งปลูกที่เป็นพื้นที่ครอบคลุมเกือบทุกหมู่บ้านและเป็นที่มาของคำชวัญประจำตำบล  “ถิ่นข่างาม น้ำมูลใส บั้งไฟล้าน ลานแตงโม” 

เขตการปกครอง 

๑   บ้านห้วยขะยุงใต้

   บ้านห้วยขะยุงตก

   บ้านอุดมเกษตร

   บ้านน้ำเที่ยง

   บ้านห้วยขะยุงออก

   บ้านห้วยขะยุงเหนือ

   บ้านโนนยาง

   บ้านน้ำคำ

   บ้านท่าเมืองใหม่

๑๐  บ้านสนามชัย

๑๑   บ้านคำเจริญ

๑๒   บ้านไทรเจริญ

๑๓   บ้านเกษตรสมบูรณ์


การปกครอลพื้นที่

          ๑)  หมู่บ้านในเขต อบต.เต็มทั้งหมู่บ้าน    หมู่บ้าน  ได้แก่หมู่ที่  ๔,๕,๗,๘,๙,๑๓

          ๒)  หมู่บ้านในเขต อบต.บางส่วน ๗ หมู่บ้าน  ได้แก่หมู่ที่ ๑,๒,๓,๖,๑๐,๑๑,๑๒

          ๓)  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อื่นภายในตำบล ได้แก่ เทศบาลตำบลห้วยขะยุง

การเลือกตั้ง 

          องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยขะยุง จัดตั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์  พ.ศ. ๒๕๔๐  ปัจจุบันมีฐานะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขนาดกลาง และมีข้อมูลฐานในการเลือกตั้ง โดยได้แบ่งเขตเลือกตั้งออกเป็น ๑ เขตการเลือกตั้ง แบ่งเป็นหน่วยเลือกตั้งได้ ๑๓ หน่วยเลือกตั้ง แบ่งตามเขตหมู่บ้านทั้ง ๑๓ หมู่บ้าน

 ประชากร

ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร (ข้อมูลเปรียบเทียบย้อนหลัง ๓-๕ ปี และการคาดการณ์ในอนาคต)   

ตารางที่ ๖  แสดงข้อมูลจำนวนประชากรแยกตามปีพุทธศักราช

 

 

ปี พ.ศ.

 

จำนวนครัวเรือน

จำนวนประชากร

ชาย

หญิง

รวม

๒๕๕๘

๘๘๘

๑,๖๑๕

๑,๕๓๘

๓,๑๕๓

๒๕๕๙

๙๐๖

๑,๖๑๑

๑,๕๔๗

๓,๑๕๘

๒๕๖๐

๙๑๑

๑,๕๙๒

๑,๕๓๘

๓,๑๓๐

๒๕๖๑

๙๓๘

๑,๖๐๕

๑,๕๓๕

๓,๑๔๐

๒๕๖๒

๙๔๕

๑,๖๑๒

๑,๕๓๙

๓,๑๕๑

*๒๕๖๓

๙๖๐

๑,๖๒๐

๑,๕๔๖

๓,๑๖๖

ช่วงอายุและจำนวนประชากร    
     
ตารางที่ ๗  ประชากรแยกรายหมู่บ้าน

 

 

หมู่ที่ / ชื่อหมู่บ้าน

 

จำนวนครัวเรือน

จำนวนประชากร

ชาย

หญิง

รวม

    บ้านห้วยขะยุงใต้

๑๔

๑๕

๑๓

๒๘

   บ้านห้วยขะยุงตก

๔๔

๔๖

๕๖

๑๐๒

    บ้านอุดมเกษตร

๙๓

๑๕๘

๑๒๘

๒๘๖

    บ้านน้ำเที่ยง

๑๐๕

๒๒๙

๒๐๙

๔๓๘

    บ้านห้วยขะยุงออก

๑๒๖

๑๗๗

๑๕๙

๓๓๖

    บ้านห้วยขะยุงเหนือ

๒๕

๓๑

๒๘

๕๙

    บ้านโนนยาง

๓๗

๙๒

๖๘

๑๖๐

    บ้านน้ำคำ

๒๐๘

๓๘๕

๔๐๕

๗๙๐

    บ้านท่าเมืองใหม่

๑๒๖

๒๒๗

๒๒๒

๔๔๙

๑๐  บ้านสนามชัย

๒๑

๓๒

๓๓

๖๕

๑๑  บ้านคำเจริญ

๒๐

๒๓

๑๙

๔๒

๑๒  บ้านไทรเจริญ

๔๒

๓๕

๒๖

๖๑

๑๓  บ้านเกษตรสมบูรณ์

๗๗

๑๕๕

๑๖๙

๓๒๔

รวม

๙๓๘

๑,๖๐๕

๑,๕๓๕

๓,๑๔๐


ข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง อำเภอวารินชำราบ
  ฐานข้อมูล    กันยายน  ๒๕๖๑

      ตารางที่ ๘  ประชากรตามช่วงอายุ

 

 

ช่วงอายุ

จำนวนประชากร

ชาย

หญิง

รวม

อายุแรกเกิด๑๗  ปี

๓๓๒

๓๐๑

๖๓๓

อายุ  ๑๘ ๖๐ ปี

๑,๐๘๑

๑,๐๐๓

๒,๐๘๔

อายุ  ๖๑ มากกว่า ๑๐๐ ปี

๑๙๒

๒๓๑

๔๒๓


ข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง อำเภอวารินชำราบ
  ฐานข้อมูล    กันยายน  ๒๕๖๑๑

สภาพสังคม

ตำบลห้วยขะยุง เป็นชุมชนท้องถิ่นที่มีวัฒนธรรมพื้นบ้านและประเพณีท้องถิ่นที่ดีงาม หลากหลาย มีขนบธรรมเนียมตามฮิตสิบสองคลองสิบสี่  ประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญในอดีต

๑) บุญเข้ากรรม (เดือนอ้าย)

๒) บุญคูณลาน (เดือนยี่)

๓) บุญข้าวจี่ (เดือนสาม)

๔) บุญเผวสหรือบุญมหาชาติ (เดือนสี่)

๕) บุญสงกรานต์ (เดือนห้า)

๖) บุญบั้งไฟ (บุญเดือนหก) ซึ่งในปัจจุบันได้มีการงดจัดงานประเพณีนี้ เนื่องจากความเสี่ยงจากอันตรายและความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ที่ใกล้จุดเครื่องบินพาณิชย์ผ่านพื้นที่ตำบล

๗) บุญซำฮะ (บุญเดือนเจ็ด)

บุญประเพณีอื่นๆ ประเพณีงานบุญเข้าพรรษา บุญกฐิน บุญข้าวประดับดิน(บุญเดือนเก้า) บุญข้าวสาก(บุญเดือนสิบ)

 การศึกษา

การศึกษาในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยขะยุง มีโรงเรียนในสังกัดจำนวน   แห่ง

๑)     ระดับปฐมศึกษา 

โรงเรียนบ้านน้ำเที่ยง  ตั้งอยู่หมู่ ๘ บ้านน้ำคำ ตำบลห้วยขะยุง

๒)     ระดับมัธยมศึกษา

โรงเรียนห้วยขะยุงวิทยา ตั้งอยู่เลขที่ ๕๗ หมู่ ๙ ถนนไชยชุมพล ตำบลห้วยขะยุง

          ๓) ระดับก่อนวัยเรียน

              ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยขะยุงตก ตั้งอยู่หมู่ ๒ ตำบลห้วยขะยุง

         การสาธารณสุข

         มีหน่วยงานด้านสาธารณสุขในพื้นที่ ในการดูแลและให้บริการแก่ประชาชน ในการเจ็บป่วยเบื้องต้นและการดูแลผู้ป่วยในพื้นที่ตำบล ประกอบด้วย

          ๑) ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลห้วยขะยุง  จำนวน    แห่ง

          ๒) ศูนย์สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)  จำนวน  ๑๓  แห่ง

Map

ร้องเรียนร้องทุกข์

Poll

ความพึงพอใจของท่าน ต่อการให้บริการของ องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยขะยุง อยู่ในระดับใด ?
  • โหวต: (0%)
  • โหวต: (0%)
  • โหวต: (0%)
  • โหวต: (0%)
  • โหวต: (0%)
Total Votes:
First Vote:
Last Vote:

สารสนเทศ สถ.

หน่วยงาน สถ.

ลิงค์น่าสนใจ